เมนู

เราเป็นนี้. คำว่า ภวิสฺสํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจสัสสตทิฏฐิ ถือว่าทุกสิ่ง
เที่ยง คำว่า น ภวิสฺสํ ท่านกล่าวด้วยอำนาจอุจเฉททิฏฐิ ถือว่าทุกสิ่ง
ขาดสูญ. คำทั้งหมดมี รูปี ภวิสฺสํ เป็นต้น หมายเอาสัสสตทิฏฐิเท่านั้น.
บทว่า อเถตฺถ ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น คือเมื่ออินทรีย์เหล่านั้นดำรงอยู่
โดยประการนั้นนั่นแล. บทว่า อวิชฺชา ปหียติ ความว่า เราละอวิชชา
อันเป็นตัวไม่รู้ในสัจจะ 4. บทว่า วิชฺชา อุปฺปชฺชติ ความว่า วิชชาใน
อรหัตตมรรคย่อมเกิดขึ้น.
ในที่นี้พึงทราบวินิจฉัยอย่างนี้ บทว่า อสฺมิ ได้แก่ตัณหามานะและ
ทิฏฐิ. อธิบายว่า ระหว่างกรรมกับอินทรีย์ 5 เป็นสนธิหนึ่ง ระหว่าง
อินทรีย์ 5 นับใจที่มีวิบากเป็นอารมณ์ซึ่งเป็นฝ่ายอินทรีย์ 5 กับใจที่มี
กรรมเป็นอารมณ์เป็นสนธิหนึ่ง. ธรรมเครื่องเนิ่นช้า 3 อย่าง จัดเป็น
อดีตอัทธา อินทรีย์เป็นต้น จัดเป็นปัจจุบันอัทธา ในอัทธา 2 อย่างนั้น
ท่านแสดงปัจจัยแห่งอนาคตอัทธา เริ่มต้นแต่ใจที่มีกรรมเป็นอารมณ์
ด้วยประการฉะนี้แล.
จบ อรรถกถาสมนุปัสสนาสูตรที่ 5

6. ปัญจขันธสูตร



ว่าด้วยขันธ์และอุปาทานขันธ์ 5



[95] กรุงสาวัตถี. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงขันธ์ 5
และอุปาทานขันธ์ 5 เธอทั้งหลายจงฟัง ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ขันธ์ 5
เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย รูปอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นอดีต อนาคต
และปัจจุบัน เป็นภายในหรือภายนอก หยาบหรือละเอียด เลวหรือ